top of page
1586151162.jpg
Je te veux
Je te veux : Erik Satie

Cr:bloggang วาดโดย Federico Andreotti

บทเพลง Je te veux หรือในภาษาอังกฤษมีชื่อว่า I want you เป็นเพลงที่ประพันธ์โดย Erik Satie และมี Henry Pacory เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ตัวบทเพลงอยู่ในรูปแบบของเพลงวอลทซ์ในอัตราจังหวะ ¾ ให้ความรู้สึกที่อ่อนไหวพร้อมเนื้อเพลงที่มีความเร้าอารมณ์ บทเพลงนี้ได้ถูกประพันธ์ขึ้นให้กับ Paulette Darty ซึ่งเป็นนักแสดงหญิงที่เคยทำงานกับ Satie มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตัวเนื้อเพลงแบ่งออกเป็น 2 โครงกวี และมีท่อนที่ถูกนำมาร้องซ้ำ เนื้อเพลงจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรักของผู้หญิงคนนึง พร้อมทั้งมีการพรรณาถึงความรักได้อย่างเร่าร้อน บทเพลงนี้ได้รับการจดทะเบียนกับ SACEM (Society of Authors, Composers and Publishers of Music) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.1902 นอกจากนี้ Satie ยังได้แต่งเพลงวอลทซ์ "Je te veux" ในหลายๆเวอร์ชั่น ทั้งสำหรับเปียโนบรรเลงกับนักร้อง วงออเคสตราของเครื่องทองเหลืองและสำหรับวงออเคสตราที่เต็มรูปแบบ รวมทั้งยังประพันธ์ในรูปแบบที่เป็นวง trio อีกด้วย
Apre un reve
Apre un reve.jpg
Après un rêve : G.Fauré

Cr:pianostreet วาดโดย Anonymous

เนื้อเพลงของเพลงนี้ประพันธ์โดยเพื่อนของ Fauré ชื่อว่า Romain Bussine เป็นผู้เชี่ยวชาญการขับร้องที่ Paris Conservatoire ซึ่งเนื้อเพลงได้นำมาจากบทกวีสไตล์ที่ใกลเคียงกับ Tuscan poem บทเพลงนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1878 ซึ่งคีย์ต้นฉบับอยู่ในคีย์ C minor แต่ Fauré ก็ได้มีการเปลี่ยนคีย์เป็น D minor หลังจากนั้นไม่นาน แม้ว่าบทเพลงจะถูกเซ็ตจังหวะ Andantino ซึ่งเป็นจังหวะที่ค่อนข้างช้า แต่ในทางปฏิบัติจังหวะถูกทำให้ช้าลงอีก เพื่อช่วยสร้างอารมณ์เพลงให้มีความอ่อนไหวมากขึ้น เห็นได้จากการบักทึกเสียงเพลงนี้ของนักร้องสองคนที่ทำงานกับ Fauré คือ Claire Croiza และ Charles Panzera ซึ่งได้แนะนำว่า จังหวะควรจะอยู่ที่ 66 Bpmขึ้นไป (จากเดินที่ใน Score ถูกเซ็ตไว้ประมาณ 80 Bpm) นี่คือบทเพลงที่มีความเร่าร้อนและแฝงด้วยความโกรธเคือง พร้อมทั้งเป็นการโอดครวญที่ต้องตื่นขึ้นมาจากความฝันที่เเสนงดงาม
Nur Wer die
1599134306.jpg
Nur wer die Sehnsucht kennt : Pyotr Ilyich Tchaikovsky

Cr:bloggang วาดโดย Phillip Mercier

บทเพลง Nur wer die Sehnsucht kennt หรือ Only those who know longing ประพันธ์โดย Pyotr Ilyich Tchaikovsky (ไชคอฟสกี) เขาได้ประพันธ์บทเพลงนี้ให้กับ Alina Khvostova ซึ่งนักร้องหญิงที่เคยมีความสัมพันธ์ในเรื่องความรักของเขา และบทเพลงนี้ได้ถูกนำแสดงเป็นครั้งแรกโดยนักร้องเสียงเมซโซ  โซปราโนชาวรัสเซีย ชื่อว่า Yelizaveta Lavrovskaya ในกรุงมอสโกประเทศรัสเซียในปี 1870 ตามด้วยการเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปีถัดมา ตัวเนื้อหาขอองบทเพลงได้พรรณาถึง ความทุกข์ทรมานที่แสนโดดเดี่ยว เป็นความทรมานที่ไม่มีใครรับรู้ถึงความทรมานนั้นว่ามันเจ็บปวดเพียง ซึ่งน่าเกี่ยวข้องกับเรื่องราวความรักของเขานั่นเอง
Les Chemins
1224603120.jpg
Les Chemins de l’amour : F.Poulenc

Cr:bloggang วาดโดย Anonymous

บทเพลง Les Chemins de l’amour หรือ Path of love เป็นบทเพลงที่ประพันธ์โดย Francis Poulenc ตัวดนตรีได้รับอิทธิพลมากจากเพลงร้องวอลทซ์ที่เป็นเพลงบรรเลงจากละครเรื่อง Léocadia ของนักการละครชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Jean Anouilh บทเพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1940 และได้ถูกนำไปร้องในรอบปฐมทัศน์ของละคร Léocadia โดยนักแสดงตลกและนักร้องหญิงชื่อ Yvonne Printemps ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ 1940 เพลงนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จในการนำไปแสดงในละคร และได้รับความนิยมในการนำมาร้องเดี่ยวในเวลาต่อมา เนื้อหาของบทเพลงนี้เป็นการพรรณาถึง ความรักในอดีตที่ไม่อาจหวนคืนกลับมา ทั้งความทรงจำที่ดีและร้าย คนที่เคยรักกัน ภาพวันเก่าๆที่งดงาม หลงเหลือเพียงในภาพแห่งทรงจำไว้ให้หวนนึกถึง
Oh Qual je dors
ดาวน์โหลด12.jpg
Oh! Qual je dors : F.Liszt

Cr:Anonymous วาดโดย Anonymous

บทเพลงนี้มาจากหนังสือเล่มที่สองในชุด “บทเพลงร้องสำหรับเล่นกับเปียโนเท่านั้น” มีชื่อว่า Oh! Quand je dors ซึ่งนำบทกวีของ Victor Hugo มาใช้ในการประพันธ์เพลง ในเวอร์ชั่นที่เป็นนักร้องกับเปียโนแต่งเสร็จครั้งแรกในปี 1842 และเผยแพร่ในเบอร์ลินในอีกสองปีต่อมา F.Liszt กลับมาแก้ไขเวอร์ชันนี้อีกครั้งในหลายปีต่อมาและกลายเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันเพลงของเขาที่เผยแพร่ในปี ค.ศ 1859 เวอร์ชันที่นำกลับมาใช้ใหม่นี้เป็นเพลงภาษาฝรั่งเศสที่รู้จักกันดีที่สุดของเขา ซึ่งมีการแสดงบ่อยกว่าเวอร์ชัน 1842 บทกวีนี้มาจากคอลเลกชันบทกวี Les rayons et les ombres ของ Victor Hugo ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1840 เป็นหมายเลข 27 ในคอลเลคชั่นและข้อความนี้ เขียนจากมุมมองของกวีที่ซได้บรรยายถึงเขา ที่เชิญคนรักเข้านอนโดยอ้างอิงถึง Petrarch กวีชาวอิตาลีในศตวรรษที่สิบสี่และลอร่าคนรักของเขา การกล่าวถึง Petrarch และ Laura น่าจะเป็นการอ้างอิงถึงความสัมพันธ์ของ Hugo กับ Juliette Drouet คนรักของเขาและ Liszt ปรับข้อความนี้เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ของเขากับ Marie d'Agoult  
Romance
40_EstudiLliri-Durer.jpg
Romance ( L'âme évaporée ) : C.Debussy

Cr:liederabend วาดโดย Anonymous

บทเพลง Romance เป็นบทเพลงในลำดับที่สองในชุดเพลง Deux romances ของ Debussy บทเพลงอยู่ในคีย์ B Minor บทกวีถูกประพันธ์โดยเพื่อนของเขาที่เป็นนักเขียนนิยายชื่อ Paul Bourget ความหายของเนื้อเพลงนั้น ได้บรรยายถึง คนรักที่ได้จากไป ซึ่งในเนื้อเพลงนั้นได้แทนคนรักเป็นเหมือนดอกลิลลี่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้ถูกลมพัดล่องลอยไปในอากาศ ไม่มีหลงเหลือแม้กระทั่งกลิ่นของเจ้าดอกลิลลี่นั้น ที่เคยได้โอบกอด สร้างความรักที่น่าศรัทรา ความสุขและความสงบสันติ
La Cloche
winter-bells.jpg
La Cloche : C.Saint-Saëns

Cr:paveikslai วาดโดย Petras Beniulis

เป็นบทเพลงประเภท Chanson [บทเพลงที่ประพันธ์ดนตรีเข้าบทกวีของฝรั่งเศส] ประพันธ์โดย C.Saint-Saëns คีย์ต้นฉบับอยู่ในคีย์ D-flat major ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1885 และเผยแพร่ต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 1886 Saint-Saëns ได้นำตัวบทกวีมาจากกวีของ Victor Hugo บทเพลงนี้ถูกนำมา Arrange ในหลายๆเวอร์ชั่น ไม่ว่าจะเป็น Piano Voice , Orchestra voice และเวอร์ชั่นอื่นๆ ในส่วนของเนื้อหาของบทเพลง ได้บรรยายถึงระฆังที่ถูกแขวนอยู่บนหอคอยท่ามกลางหมู่เมฆในอากาศ เเละได้เเทนระฆังเปรียบเสมือนจิตวิญญานอันบริสุทธิที่่อ่อนไหวโอนเอนอยู่ในอากาศ เเละได้คร่ำครวญหาความรักที่บริสุทธิจากสั่นสะเทือนของมันให้ก้องไปในอาศ เปรียบเสมือนคนที่เพรียกหาความรัก ความสันติสุขภายใต้สภาวะจิตใจที่หวั่นไหวไม่มั่นคง
Les Cloche
bells-3779849_1280.jpg
Les Cloches : C.Debussy

Cr:pixabay วาดโดย Anonymous

Les Cloches ประพันธ์โดย Claude Debussy  เนื้อเพลงได้นำมาจากบทกวีของ Paul Bourgetcreate (ค.ศ.1852-1935) เป็นบทเพลงในประเภท Art song  ที่ประพันธ์สำหรับนักร้องร่วมการบรรเลงของเปียโน บทเพลงนี้ได้ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะชนในปี ค.ศ. 1891 เป็นบทเพลงลำดับที่หนึ่งในชุด Deux Romances และต้นฉบับอยู่ใน key G flat Major ตัวเนื้อหาของบทเพลงนั้น ได้บรรยายถึง ระฆังที่สั่นไหวอย่างมีอิสระภาพ เเละเสียงก้องของมันได้กล่าวขานถึงปีเเห่งความสุข สิ่งที่เคยเเห่งเหี่ยวในอดีตนั้น กำลังได้การฟื้นฟูขึ้นมาให้เบ่งบานอีกครั้งนึง เปรียบสเมือนใจคนที่เคยแห้งเหี่ยวทุกข์ระทม ได้กลับมาตื่นรู้เเละเบิกบานอีกครั้งนึง
Danse Macabre
aransomig_10312562880.jpg
Danse Macabre : C.Saint-Saëns

Cr:artstor วาดโดย Jacques-Antony Chovin

นี่คือหนึ่งในผลงาน four tone poems ของ Saint-Saëns ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วง 1870 ซึ่งแรงบันดาลทั้งหมดของเขามาจากตัวอย่างงานเพลงของ Franz Liszt โดยที่เขาสนใจในเรื่องของ แนวคิดวิธีการเปลี่ยนแปลงธีม และการใช้สีสันเครื่องดนตรีต่างๆในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่ง Saint-Saëns ได้มีการใช้บทกวีจำนวนมากของ Henri Cazalis (ค.ศ. 1840-1909) ในการประพันธ์บททเพลงร้องต่างๆ และบทเพลง Danse Macabre ก็ได้นำบทกวีมาจากชุดกวีที่ชื่อ “Égalité, fraternité…”[ความเท่าเทียมเเละภาราดรภาพ] ที่ได้กลายมาเป็น Danse macabre เวอร์ชั่นเพลงร้องในปี ค.ศ. 1872 เขาเริ่มเพิ่มเติมเครื่องดนตรีของเพลงนี้ให้มีความยิ่งใหญ่มากขึ้น ในปี ค.ศ.1874 โดยนำพาร์ทร้องไปอยู่ที่เครื่องไวโอลินโซโล่ และใช้เครื่อง Xylophone เพื่อให้ Character ของโครงกระดูกที่เคลื่อนขยับไปมา เนื้อหาของเพลงนี้ได้บรรยายถึง เสียงไวโอลินที่บรรเลงเพลงเเห่งความให้เหล่าผีโครงกระดูกได้เต้นรำกัน ก่อนที่จะสรุปช่วงท้ายของเพลงไว้ว่า สุดท้ายเเล้วไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ผู้สูงส่งหรือชาวนาผู้ต่ำต้อย ก็ตายจากโลกนี้ไปอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
Magga
File_002.jpeg
Undone : Vorakit Kamolraksa 

Cr:Vorakit Kamolraksa วาดโดย Vorakit Kamolraksa

เป็นบทเพลงที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจมากจากคำสอนเชิงปรัชญาทางพุทธศาสนา ซึ่งมรรคนั้น คือข้อปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ เป็นหนึ่งหลักคำสอนในหัวข้ออริยสัจสี่หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่ต้องทำความเข้าใจ หากต้องการที่จะหาหนทางในการหลุดพ้นจากความทุกข์จากการใช้ชีวิตของความเป็นมนุษย์ในโลกใบนี้ บทเพลงนี้มีเนื้อหาที่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวตัวเเทนความเป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง ที่เกิดมาพร้อมกับความทุกข์ เเละต้องการที่จะหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยการศึกษาทำความเข้าใจข้อปฏิบัติของมรรคซึ่งคือลำดับสุดท้ายของอริยสัจสี่ บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นโดย วรกฤต กมลรักษา นักประพันธ์เพลงสมัครเล่นชาวไทย เเละเป็นผู้ขับร้องบทเพลงนี้ด้วยตนเองในรีไซทอลที่ชื่อ Undone นั่นเอง 
bottom of page